• หน้าหลัก
  • เกี่ยวกับคณะสงฆ์
    • โรงเรียนสังกัดคณะสงฆ์
      • โรงเรียนกุศลสมาครวิทยาลัย
      • โรงเรียนสุนทรประดิษฐ์วิทยาลัย
      • โรงเรียนมหาปัญญา
      • มหาปัญญาวิทยาลัย มจร.
      • พระปริยัติธรรม กลุ่มที่ ๑๔
      • โรงเรียนศรีวิชาวิทยา
    • ความเป็นมาคณะสงฆ์อนัมนิกาย
    • กฎหมายคณะสงฆ์อนัมนิกาย
  • สมณศักดิ์
  • วัดอนัมนิกาย
  • ข่าวประชาสัมพันธ์
  • ติดต่อเรา
  • ห้องสมุด

ประวัติโรงเรียนศรีวิชาวิทยา

ประวัติโรงเรียนศรีวิชาวิทยา

ที่ตั้ง
โรงเรียนศรีวิชาวิทยาตั้งอยู่ในบริเวณ วัดธรรมปัญญารามบางม่วง (Wat Thamma Panyaram Bang Muang, 兴盛寺 - Chùa Hưng Thạnh) ที่อยู่ 108/8 หมู่ 8 ตำบลบางช้าง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม

สังกัดและการบริหาร
โรงเรียนศรีวิชาวิทยาเป็นส่วนหนึ่งของ สำนักเขตการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เขต 14 ภายใต้การกำกับดูแลของ สำนักงานการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา

การจัดการศึกษา
โรงเรียนเปิดสอนในระดับ มัธยมศึกษาปีที่ 1 - 6 โดยเน้นการส่งเสริมการเรียนรู้ที่หลากหลาย ประกอบด้วย

  • แผนกธรรม
  • แผนกบาลี
  • แผนกสามัญศึกษา

โรงเรียนมุ่งเน้นการให้การศึกษาที่ครอบคลุมและเหมาะสมสำหรับ พระภิกษุและสามเณร ทั้งฝ่ายมหายานและเถรวาท เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ทางวิชาการควบคู่กับการพัฒนาคุณธรรมตามหลักพระพุทธศาสนา

ปรัชญาของโรงเรียน
"สุโข ปญฺญาปฏิลาโภ" – ความได้มาซึ่งปัญญา ก่อให้เกิดสุข

คำขวัญของโรงเรียน
"แสวงหาความรู้ เชิดชูศีลธรรม"

สีประจำโรงเรียน

  • ฟ้า: หมายถึงความกว้างใหญ่ไพศาลดังน้ำในมหาสมุทร สื่อถึงความมุ่งมั่นในการแสวงหาความรู้
  • ขาว: หมายถึงความบริสุทธิ์และศรีสวัสดิ์ของพระพุทธศาสนา

ความมุ่งมั่นและวิสัยทัศน์
โรงเรียนศรีวิชาวิทยามีเป้าหมายที่จะพัฒนานักเรียนให้เป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ และคุณธรรม สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันและส่งเสริมศาสนาให้ยั่งยืน

สถานที่สำคัญ
ตั้งอยู่ภายในวัดธรรมปัญญารามบางม่วง ซึ่งเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ทางพระพุทธศาสนาและแหล่งเสริมสร้างศีลธรรมแก่สังคมในพื้นที่และใกล้เคียง

โรงเรียนศรีวิชาวิทยายังคงเดินหน้าพัฒนาและสร้างสรรค์สิ่งดีงามเพื่อประโยชน์แก่พระภิกษุ สามเณร และสังคมอย่างยั่งยืนในอนาคต

กฎหมายคณะสงฆ์อนัมนิกาย

พระราชบัญญัติ
คณะสงฆ์
พ.ศ. ๒๕๐๕
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๐๕


พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยคณะสงฆ์ให้เหมาะสมยิ่งขึ้นจึง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติไว้ โดยคำแนะนำและยินยอมของสภา ร่างรัฐธรรมนูญในฐานะรัฐสภา ดังต่อไปนี้
          มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕”
          มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
          มาตรา ๓ ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช ๒๔๘๔
          มาตรา ๔ ภายในระยะเวลาหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ บรรดากฎกระทรวง สังฆาณัติ กติกาสงฆ์ กฎองค์การ พระบัญชาสมเด็จพระสังฆราชข้อบังคับและ ระเบียบเกี่ยวกับคณะสงฆ์ที่ใช้บังคับอยู่ในวันประกาศพระราชบัญญัตินี้ในราชกิจจานุเบกษา ให้คงใช้บังคับต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้จนกว่าจะมีกฎกระทรวง กฎมหาเถรสมาคม พระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช ข้อบังคับหรือระเบียบของมหาเถรสมาคม ยกเลิก หรือมีความอย่างเดียวกัน หรือขัดหรือแย้งกัน หรือกล่าวไว้เป็นอย่างอื่น
          มาตรา ๕ เพื่อประโยชน์แห่งมาตรา ๔ บรรดาอำนาจหน้าที่ซึ่งกำหนดไว้ในสังฆาณัติ กติกาสงฆ์ กฎองค์การ พระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช ข้อบังคับและระเบียบเกี่ยวกับ คณะสงฆ์ ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของพระภิกษุตำแหน่งใดหรือคณะกรรมการสงฆ์ใดซึ่งไม่มีใน พระราชบัญญัตินี้ ให้มหาเถรสมาคมมีอำนาจกำหนดโดยกฎมหาเถรสมาคมให้เป็นอำนาจ หน้าที่ของพระภิกษุตำแหน่งใด รูปใด หรือหลายรูปร่วมกันเป็นคณะตามที่เห็นสมควรได้
          มาตรา ๕ ทวิ ในพระราชบัญญัตินี้ “คณะสงฆ์” หมายความว่า บรรดาพระภิกษุที่ได้รับบรรพชาอุปสมบทจาก พระอุปัชฌาย์ตามพระราชบัญญัตินี้ หรือตามกฎหมายที่ใช้บังคับก่อนพระราชบัญญัตินี้ไม่ว่าจะปฏิบัติศาสนกิจในหรือนอกราชอาณาจักร
          “คณะสงฆ์อื่น” หมายความว่า บรรดาบรรพชิตจีนนิกาย หรืออนัมนิกาย
          “พระราชาคณะ” หมายความว่า พระภิกษุที่ได้รับแต่งตั้งและสถาปนาให้มีสมณศักดิ์ตั้งแต่ชั้นสามัญจนถึงชั้นสมเด็จพระราชาคณะ
          “สมเด็จพระราชาคณะผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์” หมายความว่า สมเด็จพระราชาคณะที่ได้รับสถาปนาก่อนสมเด็จพระราชาคณะรูปอื่น ถ้าได้รับสถาปนาในวันเดียวกันให้ถือรูปที่ได้รับสถาปนาในลำดับ
          มาตรา ๕ ตรี พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการแต่งตั้งสถาปนาและถอดถอนสมณศักดิ์ของพระภิกษุในคณะสงฆ์
          มาตรา ๖ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้
กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้

 

การปกครองคณะสงฆ์ฝ่ายอนัมนิกาย

          การปกครองคณะสงฆ์ฝ่ายอนัมนิกายในปัจจุบัน เป็นไปตามพระราชบัญญัติ คณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ และมีกฎกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติคือ กฎกระทรวง ฉบับที่ ๓ พ.ศ. ๒๕๒๐ ว่าด้วยการปกครองคณะสงฆ์อื่น จัดให้มีการดําเนินการปกครอง ให้เป็นไปตาม พระธรรมวินัย ลัทธิ นิกาย กฎหมาย และพระบัญชาของสมเด็จพระสังฆราชดังนี้

 

โครงสร้างและตําแหน่งการปกครองของ
คณะสงฆ์อนัมนิกาย

7878

พระคณานัมธรรมเมธาจารย์ 
(ณรงค์ ติ่นเรียนมหาเถระ)
เจ้าคณะใหญ่อนัมนิกาย


    ดาวน์โหลด

          สำรวจพระภิกษุ-สามเณร | PDF 
          สำรวจพระภิกษุ-สามเณร  | Word

 

ลิขสิทธิ์ © 2567 คณะสงฆ์อนัมนิกายแห่งประเทศไทย. สงวนลิขสิทธิ์.
เว็บไซต์ | www.anamnikayathai.com โทร. 0-2225-1361  Email : anamnikayathai@hotmail.com, tejasid9@gmail.com